วันเสาร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2557

                       

                       "เงาะโรงเรียน "ชื่อที่คุ้นหูแต่ไม่รู้จักที่มา ?......





                       เมื่อปี  พ.ศ.2469  นายเคหว่อง  ชาวจีน  สัญชาติมาเลเซียได้ย้ายภูมิลำเนาจากเมืองปีนังมาทำเหมืองแร่ดีบุก  ที่หมู่บ้านเหมืองแกะ  ตำบลนาสาร  อำเภอบ้านนาสาร  และได้นำเมล็ดเงาะมาปลูกเป็นครั้งแรกที่ตำบลนาสาร  โดยปลูกบริเวณทางเหนือ  ใกล้กับอาคารบ้านพักหลายต้นต่อมานายเคหว่อง  ได้ล้มเลิกกิจการเหมืองแร่  และเดินทางกลับภูมิลำเนาเดิมเมืองปีนัง  จึงได้ขายที่ดินจำนวน   18   ไร่ให้กับกระทรวงธรรมการ(กระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบัน)  ที่ดินแปลงดังกล่าวมีต้นเงาะโรงเรียนรวมอยู่ด้วยต้นหนึ่ง  ในสมัยนั้นโรงเรียนนาสารตั้งอยู่ที่วัดนาสาร ทางราชการจึงได้ย้ายโรงเรียนไปอยู่ตรงตรงบริเวณที่ซื้อใหม่เมื่อวันที่  17  พฤศจิกายน   พ.ศ.2479  และต้นเงาะที่นายเคหว่องปลูกไว้นั้นก็เจริญขึ้นเรื่อยๆจนกระทั้งติดดอก  ออกผลและเป็นเงาะเพียงต้นเดียวที่มีลักษณะพิเศษกว่าต้นอื่นๆ   คือ เมื่อสุกแล้วเปลือกผลมีสีแดง  ถึงแม้จะสุกสักเท่าใดปลายขนก็ยังคงมีสีเขียวอยู่  รูปร่างผลกลมรีเล็กน้อย  เปลือกบาง  เนื้อหนา  รสหวานหอม  กรอบและล่อน จึงเป็นที่นิยมของบุคคลทั่วไป  ด้วยเหตุนี้จึงเป็นต้นกำเนิดของเงาะพันธ์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากในปัจจุบันและชาวบ้านขนามนามทั่วไปว่า      เงาะพันธ์โรงเรียน




เมื่อ  ปี พ.ศ.2512  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนิน ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี 
 นายชัช  อุตมารกูร เกษตรกรผู้นำชาวสวนได้ทูลเกล้าถวายเงาะพันธุ์โรงเรียนต้นนั้นและขอให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานชื่อเงาะพันธุ์ใหม่  พระองค์ทรงมีพระราชดำรัสว่า  ชื่อเงาะพันธุ์โรงเรียนก็ดีอยู่แล้ว  นับแต่นั้นเป็นต้นมาเงาะพันธ์โรงเรียนหรือเงาะโรงเรียนจึงเป็นชื่อที่เรียกกันตลอดไปจนเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายและมีชื่อเสียงมากที่สุดในปัจจุบันบางท่านอาจคิดว่าเงาะอร่อยไม่จำเป็นต้องปลูกที่อำเภอบ้านนาสารอย่างที่กล่าวมาข้างต้น  ก็เลยอยากเชิญชวนให้มาพิสูจน์ในช่วงเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม  ของทุกปีมีเงาะโรงเรียนของสุราษฎร์ธานีปริมาณมาก  ท่านจะชิมความแตกต่างได้ถึงสวนดั่งเดิมของชาวอำเภอบ้านนาสารที่มีความยินดีต้อนรับนักท่องเที่ยว  ซึ่งทุกปีมีชาวไทยและต่างประเทศมาที่บ้านนาสารจำนวนมาก  อ้อถ้าท่านอ่านแล้วอยากชิมเงาะขึ้นมาตอนนี้ล่ะก้อมีการผลิตเงาะนอกฤดูในบางอำเภอของจังหวัดนครศรีธรรมราช มีวางจำหน่ายบ้างไม่มาก 



ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.gotoknow.org







0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Subscribe to RSS Feed Follow me on Twitter!